ตั้งแต่สมัยไหนมาเนิ่นนานมาแล้ว เราเรียนกันในวิชาการเกษตรของโรงเรียบเกี่ยวกับวัชพืช ว่าเป็นสิ่งที่เราต้องกำจัด แต่จริงๆ แล้ว ธรรมชาติสร้างหญ้าที่เราเรียกมันว่าวัชพืชพวกนี้ เพื่อประโยชน์ของดินและสิ่งแวดล้อมตรงนั้น
"คำว่า "วัชพืช" ถูกกำหนดให้หมายถึงพืชที่อยู่ผิดที่ พืชที่ไม่ต้องการ หรือพืชที่เป็นศัตรูพืชในแง่ที่ว่ามันขัดขวางการผลิตพืชผลหรือการเลี้ยงสัตว์
คำนี้มักใช้กับพืชชนิดใด ๆ ที่กลายเป็นศัตรูพืช เช่น Common lambsquarters (Chenopodium album), pigweeds (Amaranthus spp.), และ crabgrasses (Digitaria spp.)
อย่างไรก็ตาม คู่มือวัชพืชและเอกสารส่งเสริมการใช้สารกำจัดวัชพืชยังระบุว่าพืชบางชนิด เช่น clovers (Trifolium spp.), orchardgrass (Dactylis glomerata), tall fescue (Festuca arundinacea), hairy vetch (Vicia villosa), และ Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus) เป็นวัชพืช ซึ่งในความเป็นจริงพืชเหล่านี้มีค่ามากสำหรับเกษตรกรหลายคนเมื่อใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ พืชคลุมดิน หรือพืชอาหารในบริบทที่เหมาะสม แม้แต่ "พืชผลอาสา" เช่น buckwheat (Fagopyrum esculentum), winter rye (Secale cereale), ข้าวโพด (Zea mays) หรือถั่วเหลืองอาหารสัตว์ (Glycine max) ก็อาจกลายเป็นวัชพืชได้หากพวกมันเกิดขึ้นใหม่เองในช่วงการหมุนเวียนพืชผลที่ไม่ต้องการ" - Schonbeck
เมื่อไม่นานมานี้ เราได้มีโอกาสไป ฟาร์มสเตย์ ที่น่าสนใจ ซึ่งที่นั่นเต็มไปด้วยธรรมชาติสวยงามและการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม งานที่เราทำที่ฟาร์มกลับเต็มไปด้วยการ ถอนหญ้า ซึ่งประมาณ 90% ของเวลาที่เราทำงานนั้นคือการถอนหญ้าออกจากแปลงปลูกพืชผักต่างๆ จึงทำให้มีคำถามว่า ทำไมเราต้องถอนหญ้า แล้วมันดีจริงๆ หรอ
ดังนั้น การถอนหญ้าอาจไม่ได้เป็นเพียงการกำจัดวัชพืชที่ดูเหมือนไม่มีค่าเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการเข้าใจบทบาทของพืชเหล่านี้ในระบบนิเวศที่ซับซ้อน หญ้าและวัชพืชบางชนิดอาจถูกมองว่าเป็นศัตรูพืชในบริบทหนึ่ง แต่ในอีกมุมหนึ่งกลับมีคุณค่ามากในแง่ของการปรับปรุงดิน การให้ที่อยู่อาศัยแก่สิ่งมีชีวิต และการช่วยสร้างสมดุลในธรรมชาติ การทำเกษตรอย่างยั่งยืนจึงควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในระบบนิเวศอย่างแท้จริง แทนที่จะมองหญ้าเป็นเพียงอุปสรรค การปรับเปลี่ยนมุมมองและการใช้งานหญ้าในบริบทที่เหมาะสม อาจช่วยสร้างประโยชน์ที่ยั่งยืนและสมดุลต่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว
Reference:
Schonbeck, Mark. “An Ecological Understanding of Weeds.” EOrganic, 20 Jan. 2009, eorganic.org/node/2314.