WHAT IS PERMACULTURE? เพอร์มาคัลเจอร์คืออะไร

February 22, 2019

Permaculture (เพอร์มาคัลเจอร์) คืออะไร? การออกแบบระบบเกษตรที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Permaculture หรือ "เกษตรกรรมยั่งยืน" เป็นแนวคิดการออกแบบและจัดการระบบเกษตรที่มุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลและสอดคล้องกับธรรมชาติ โดยคำว่า Permaculture มาจากการรวมคำว่า "Permanent" (ถาวร) และ "Agriculture" (การเกษตร) เพื่อสื่อถึงการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืนและสามารถดำรงอยู่ได้ในระยะยาว

ใครเป็นคนริเริ่ม permaculture?

Permaculture เป็นคอนเซ็ปที่เกิดขึ้นในช่วงคริสตทศวรรษที่ 1970 หรือทศวรรษที่ 40 ทางพุทธศักราช หรือหมายถึง ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2549 ซึ่งในช่วงนั้นเป็นช่วงที่โลกของเราเริ่มให้ความสำคัญกับความยั่งยืนทางนิเวศวิทยา โดยเริ่มต้นจากนักนิเวศวิทยาชาวออสเตรเลียชื่อ Bill Mollison และ David Holmgren พวกเขาได้ร่วมกันพัฒนาแนวคิดนี้เพื่อตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติอย่างรุนแรง

Bill Mollison และ David Holmgren Source: greenscapegeeks.com

Permaculture คืออะไร?

David Holmgren ได้เขียนเอาไว้ในเว็บของเขา ว่าจริงๆ permaculture คือ ระบบการออกแบบเพื่อการดำรงชีวิตและการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน ซึ่งก็คือ การใช้ทรัพยากรของเราให้มันอยู่กับเราและยังคงความสมบูรณ์ไปได้เรื่อยๆ ส่วน Bill Mollison บอกว่า permaculture คือระบบการเกษตรที่มุ่งให้เกิดความหลากหลาย มีเสถียรภาพ และมีความยืดหยุ่นอิงตามระบบนิเวศธรรมชาติ ซึ่งเป็นการผสานรวมกันอย่างกลมกลืนระหว่างภูมิทัศน์และผู้คน เพื่อให้สามารถจัดหาอาหาร พลังงาน ที่พักอาศัย และความต้องการด้านอื่น ๆ ทั้งที่เป็นวัตถุและไม่เป็นวัตถุได้อย่างยั่งยืน

“The conscious design and maintenance of agriculturally productive systems which have the diversity, stability, and resilience of natural ecosystems. It is the harmonious integration of the landscape with people providing their food, energy, shelter and other material and non-material needs in a sustainable way.  Without permanent agriculture there is no possibility of a stable social order.” - Bill Mollison

การเอาหลักการของ Permaculture มาใช้ในสวนและบ้านของเรา คือเราต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราใหม่ ให้มันเข้ากับสิ่งที่เรามี และปรับเปลี่ยนแนวทางให้เข้ากับข้อจำกัดของแต่ละที่ ให้สอดคล้องกับธรรมชาตืของแต่ละที่ที่เราอยู่ ซึ่งถ้าใครนใจอยากอ่านหนังสือของ Holmgren เขาเขียนอย่างง่ายๆ เป็น Permaculture สำหรับประเทศเขตร้อน ชื่อว่า The Tropical Permaculture Guidebook – Complete ซึ่งมีให้โหลดอ่านฟรี ไม่ต้องเสียเงิน และ e-book อีกมากมายใน Holmgren Design

จริยธรรมของเพอร์มาคัลเจอร์

จริยธรรมของเพอร์มาคัลเจอร์ หรือ Permaculture Ethics เหมือนเป็นกฎของการเล่นเกมการออกแบบเพอร์มาคัลเจอร์ เป็นแก่นจริยธรรมหลัก 3 ประการ คือ Earth Care, People Care, และ Fair Shares ที่เราต้องหาจุดตรงกลางเพื่อบรรลุกฎทั้ง 3 ข้อ

Earth Care ดูแลโลก

การดูแลโลก หมายความถึง การดูแลต้นไม้ ดิน น้ำ สัตว์และสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเรา

People Care ดูแลคน

ดูแลคน คือ จัดสรรให้คนเข้าถึงสิ่งที่จำเป็น เช่น น้ำ อาหาร อากาศ และมีสังคมที่ดี ให้คนมีความสุข

Fair Shares แบ่งปันอย่างยุติธรรม

การแบ่งปันที่ยุติธรรม คือ การกำหนดจำกัดการบริโภคของเรา พร้อมกับการผลิตและแจกจ่ายส่วนเที่กินให้คนอื่น ซึ่งอาจหมายถึงการใช้ทรัพยากรของเราแบบพอเพียง

หลังจริยธรรมทั้ง 3 ข้อนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่เห็นในเพอร์มาคัลเจอร์เท่านั้น แต่ยังให้เห็นในหลักการการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่าง TheTripple Bottom Line หรือ 3P People, Planet, Profit ของ Elkington ที่เป็น 3 เสาหลักในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน คือเราจะทำธุรกิจของเราได้เรื่อยๆ โดยไม่สร้างผลกระทบที่ไม่ดีต่อคนและสิ่งแวดล้อมด้วย

จริยธรรมนำมาซึ่งหลักการหรือวิธีการที่การออกแบบแบบเพอร์มาคัลเจอร์อีก 12 หลักการ

Related posts
12 PERMACULTURE PRINCIPLES
September 21, 2024

หลักการของเพอร์มาคัลเจอร์ เป็นหลักที่อิงจากจริยธรรมของเพอร์มาคัลเจอร์ พูดง่ายๆ คือ จริยธรรมเป็นเหมือนกฎหลักๆ ส่วนหลักการเป็นเหมือนข้อแนะนำว่าเราจะสามารถทำตามกฎนั้นได้ดีได้อย่างไรเพราะฉะนั้น หลักการเหล่านี้ เป็นเพียงข้อแนะนำ ในการออกแบบตามหลัก permaculture แต่สิ่งที่เราจะต้องทำจริงๆ นั้น ขึ้นอยู่กับเรา Holmgren ได้จัดสรรหลักการให้เห็นง่ายๆ ออกมา 12 หลักการ

การเกษตรแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี
October 22, 2024

การเกษตรแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี คือ การเพาะปลูกที่ไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ในการบำรุงดินหรือพืช แต่จะเน้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือวิธีการทางธรรมชาติในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและส่งเสริมการเติบโตของพืช ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการปนเปื้อนของสารเคมีในดินและน้ำ และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพa