Green label on japanese products ฉลากเขียวที่เห็นบนสินค้าในญี่ปุ่น

December 9, 2024

Green label on japanese products ฉลากเขียวที่เห็นบนสินค้าในญี่ปุ่น

ในยุคที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น "ฉลากเขียว" หรือ Green Label กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ช่วยให้เราตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้นำด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ฉลากเขียวเหล่านี้ไม่เพียงแต่บ่งบอกว่า สินค้ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง แต่ยังสะท้อนถึงความใส่ใจในคุณภาพการผลิต การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และการลดการปล่อยคาร์บอนตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จัก Green Label ที่พบเห็นได้บ่อยบนสินค้าญี่ปุ่น รวมถึงความหมายและเกณฑ์เบื้องหลังฉลากเหล่านี้ เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่า การเลือกของคุณช่วยสร้างโลกที่ยั่งยืนขึ้นได้จริง!

Amazon.co.jp: Imabari Towel Brand Eco Mark Certified Product Set of 2 Face  Towels : Home & Kitchen
Eco Mark (source: amazon.co.jp)

Eco Mark https://www.ecomark.jp/

Eco mark เป็นรูปแขนสองข้างกอดโลก และบางทีจะมีคำภาษาญี่ปุ่นเขียนอยู่รอบๆ วงกลมว่า 地球にやさしい หรือแปลว่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การรับรองว่ามีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยก่อให้เกิดภาระต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อีกทั้งยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ข้อจำกัดของ Eco Mark

Eco Mark มีมาตรฐานเฉพาะสำหรับ บางประเภทของผลิตภัณฑ์ เท่านั้น เช่น กระดาษรีไซเคิล, ผงซักฟอก, เฟอร์นิเจอร์, บรรจุภัณฑ์, เสื้อผ้า เป็นต้น เป็นมาตรฐานที่เข้มงวด 

เน้นที่การลดภาระต่อสิ่งแวดล้อมในบางแง่มุมเท่านั้น

  • การประเมินมักเน้นที่ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในบางมิติ เช่น การใช้วัสดุรีไซเคิล, การประหยัดพลังงาน หรือการลดมลภาวะ
  • ผลิตภัณฑ์อาจไม่ได้พิจารณาถึง วัฏจักรชีวิตทั้งหมด (Life Cycle Assessment) อย่างครอบคลุม เช่น การจัดการขยะหลังการใช้งาน

Eco Mark เป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับการระบุผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านการครอบคลุมผลิตภัณฑ์ วัฏจักรชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ ความเข้มงวดของการรับรอง และการรับรู้ในระดับสากล ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย

Organic JAS (photography by EcoProject.life)

Organic JAS https://www.maff.go.jp/e/policies/standard/jas/index.html

มาตรฐาน JAS สำหรับพืชอินทรีย์และอาหารแปรรูปจากพืชอินทรีย์ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2000 โดยอิงจาก แนวทางการผลิต การแปรรูป การติดฉลาก และการตลาดอาหารที่ผลิตแบบอินทรีย์ ซึ่งได้รับการรับรองโดยคณะกรรมาธิการโคเด็กซ์ อาลิเมนทาริอุส (Codex Alimentarius Commission)

โลโก้ JAS ออร์แกนิคสามารถนำมาใช้ได้เฉพาะโดยหน่วยธุรกิจที่ขึ้นทะเบียน ซึ่งผ่านการรับรองจากหน่วยงานรับรองที่ได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น เพื่อยืนยันว่าอาหารอินทรีย์นั้นผลิตตามข้อกำหนดของมาตรฐาน JAS ซื่งคือ ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ GMO, ต้องปฏิบัติตามหลักเกษตรอินทรีย์อย่างเคร่งครัด, มีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านพื้นที่ทำการเกษตร 2–3 ปี

ผลิตภัณฑ์ต้องอยู่ในหมวดหมู่ที่กำหนด เช่น: ผลิตภัณฑ์เกษตร: ผัก, ผลไม้, ข้าว, ชา เป็นต้น ผลิตภัณฑ์แปรรูป: ซอสถั่วเหลือง, มิโสะ, อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ป่าไม้: ไม้แปรรูปและวัสดุจากป่า ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์: เนื้อสัตว์, นม, ไข่

นอกจากนี้ ยังมีข้อห้ามในการขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหารแปรรูปว่าเป็น “อาหารอินทรีย์” โดยใช้ชื่อ เช่น "有機" หรือ "Organic" เป็นต้น หากไม่มีโลโก้ JAS อินทรีย์กำกับอยู่

ข้อจำกัดของ Organic JAS

สินค้าเกษตรอินทรีย์ไม่ได้ปลอดภัยจากสารเคมีทั้งหมด เพราะมีการอนุญาตให้ใช้สารบางชนิดที่ได้จากธรรมชาติในการผลิตได้

Biomass Mark (photography by Ecoproject.life)
Biomass Mark https://www.jora.jp/biomassmark/

เครื่องหมายไบโอแมส เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้รับรองผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุไบโอแมส ซึ่งเป็นทรัพยากรอินทรีย์ที่หมุนเวียนได้ เช่น พืชและวัสดุชีวภาพอื่น ๆ ฉลากนี้แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน การใช้ไบโอแมสยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ เช่น โต๊ะที่ใช้ไม้ทั้งชิ้น กระดาษ ขนสัตว์ดิบ กระดูก เมล็ดพันธุ์ ดอกไม้ และผลิตภัณฑ์ดิบอื่น ๆ แม้ว่าจะใช้ทรัพยากรชีวมวล แต่จะ ไม่เข้าข่ายการรับรอง นอกจากนี้ อาหารและยาก็ไม่อยู่ในเกณฑ์การรับรองเช่นกัน

สินค้าที่ได้รับการรับรองเครื่องหมายชีวมวลครอบคลุมหลายประเภท เช่น ถุงพลาสติกสำหรับใส่สินค้า หรือ ภาชนะบรรจุอาหาร ในชีวิตประจำวัน, เครื่องนุ่งห่ม, หมึก, วัสดุกันกระแทก, เครื่องเขียน, ชิ้นส่วนเครื่องจักร, วัสดุอุปกรณ์สำหรับทำสวน เป็นต้น

ส่วนใหญ่เราจะเห็นสัญลักษณ์นี้บนหีบห่อสินค้าเป็นส่วนใหญ่ ตัวเลขที่เห็นในสัญลักษณ์เป็นเลขบอกเปอร์เซ็นของสินค้าหรือหีบห่อนั้นๆ ว่าใช้ biomass กี่เปอร์เซ็นต์

ข้อจำกัดของ เครื่องหมายไบโอแมส

เครื่องหมายนี้แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นๆ ใช้ส่วนประกอบที่เป็นส่วนประกอบอินทรีย์ก็จริง แต่ว่าการที่มีเครื่องหมายนี้ ไม่ได้แปลว่าสินค้านั้น จะเป็นสินค้าที่ยั่งยืนหรือ sustainable อย่างแท้จริง 

  • การมีเปอร์เซ็นต์ไบโอแมสสูงไม่ได้หมายความว่า "เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" เสมอไป

แม้ว่าสินค้าจะมีไบโอแมสในเปอร์เซ็นต์ที่สูง แต่ กระบวนการผลิต ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการแปรรูป อาจใช้พลังงานสูง หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก ซึ่งทำให้ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมไม่ได้ลดลงอย่างที่ควรเป็น

การผลิตไบโอแมสจำนวนมาก โดยเฉพาะพืชเชิงเดี่ยว เช่น อ้อย ปาล์มน้ำมัน หรือข้าวโพด อาจทำให้เกิด การแย่งพื้นที่ทำกิน ของเกษตรกรรายย่อย หรือสร้างปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ที่ใช้ที่ดินเพื่อปลูกพืชพลังงานแทนพืชอาหาร

  • การใช้สารประกอบจากธรรมชาติ ไม่ได้หมายความว่า สารประกอบเหล่านั้นจะสามารถย่อยสลายคืนสู่ธรรมชาติได้ทั้งหมดเสอไป

แม้ผลิตภัณฑ์จะใช้วัสดุจากไบโอแมส แต่บางครั้งอาจถูกผสมกับวัสดุอื่น ๆ ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เช่น พลาสติกบางชนิด ทำให้กระบวนการจัดการขยะในขั้นตอนสุดท้ายยังคงเป็นปัญหา

https://www.ecomark.jp/

https://www.maff.go.jp

https://www.jora.jp/biomassmark/

Related posts
แรงบันดาลใจจากหนังสือชื่อ “กล้วยแย่แค่ไหน?” และไลฟ์สไตล์ที่อุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส
December 22, 2024

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าสภาพอากาศเลวร้ายลงเรื่อยๆ และเราต้องดำเนินการบางอย่าง หรือต้องเผชิญผลที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ ซึ่งหลายประเทศและบริษัทต่างๆ ไม่ได้ดำเนินการใดๆ มากพอ (หรือไม่ได้ดำเนินการใดๆ เลย) ดังนั้น ฉันจึงถามตัวเองว่า "ฉันทำอะไรได้บ้าง" ฉันไม่สามารถบังคับให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบาย หรือบอกเพื่อนบ้านให้ขึ้นรถสาธารณะเมื่อไม่มีนโยบายใดๆ ได้เลย ฉันสามารถสนับสนุนสิ่งเหล่านั้นและขอให้ผู้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทำตาม ดังนั้น ฉันจึงต้องการมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่ฉันสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพราะมันจะเป็นสิ่งเดียวที่ฉันสามารถทำได้ในตอนนี้ที่จะทำให้ฉันบรรลุเป้าหมายในการใช้ชีวิตที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

Zero waste คืออะไร
December 18, 2024

การใช้ชีวิตแบบ Zero Waste และการนำหลักการ 5Rs มาใช้ในชีวิตประจำวันไม่เพียงแต่ช่วยลดปริมาณขยะและการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง แต่ยังเป็นการสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกปฏิเสธสิ่งที่ไม่จำเป็น การลดสิ่งของที่ไม่ใช้ การใช้สิ่งของซ้ำ การรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ และการคอมโพสขยะอินทรีย์เป็นการกระทำที่เราสามารถเริ่มต้นได้จากตัวเราเอง แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับใหญ่จะต้องใช้เวลา แต่การเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ในชีวิตประจำวันสามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลกใบนี้ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว.