ทำเกษตรแบบไม่ไถกรบ

February 22, 2019

No till... ทำไมไม่ไถพรวนดิน

No till คืออะไร

No till คือ การทำไร่ทำสวนแบบไม่ไถพรวน หรือไม่ต้องกลับหน้าดินเพื่อการเพาะปลูก

เป็นวิธีการทำเกษตรกรรมที่หลีกเลี่ยงการกลับหน้าดินเพื่อการเพาะปลูก เป้าหมายหลักคือ การลดการแทรกแซงของความเป็นอยู่ของดินและรักษาโครงสร้างดินให้สมบูรณ์ อีกทั้งยังรักษาสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดินด้วย โดยในกระบวนการนี้ ชาวไร่จะไม่ใช้เครื่องมือหนัก ๆ เช่น ไถ เพื่อขุดพลิกดิน แต่จะทำการปลูกพืชใหม่โดยตรงบนผิวดิน ซึ่งยังคงมีพืชคลุมดินหรือเศษพืชจากฤดูกาลก่อนปกคลุมอยู่

การไถพรวนกับการปล่อยคาร์บอน

วิธีการเพาะปลูกแบบไม่ไถพรวนดิน

การเกษตรและการทำสวนแบบยั่งยืนมีที่ไม่ไถพรวนดินนั้น ช่วยในเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนอย่างมาก โดยการ

  1. การปลูกพืชคลุมดินและการทำสวนแบบไม่ไถพรวนช่วยรักษาสุขภาพของดินและกักเก็บคาร์บอนในดิน
  2. พืชล้มลุก เป็นพืชที่มีอายุยาว สามารถช่วยกักเก็บคาร์บอนได้มากขึ้น เพราะมีรากที่หยั่งลึกและคงทน และเลี้ยงจุลินทรีย์ในดินซึ่งช่วยในการกักเก็บคาร์บอนด้วย

ไม่ไถพรวนช่วยรักษาสุขภาพของดิน

การไม่ไถพรวนช่วยรักษาสุขภาพของดินโดยการป้องกันไม่ให้โครงสร้างดินถูกรบกวน ดินที่ไม่ถูกไถพรวนจะยังคงมีจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้ยังช่วยรักษาความชื้นในดิน ลดการกัดเซาะ และเพิ่มความสามารถในการเก็บกักคาร์บอน ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของพืชในระยะยาว

วงจรของพืชและคาร์บอน

พีชต่างๆ แลกเปลี่ยนคาร์บอนในบรรยากาศ ผ่านทางการสังเคราะห์แสง พวกมันเก็บคาร์บอนเหล่านี้ไว้ที่ราก พืชและดินจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเมื่อสลายตัวเป็นธรรมดา

แต่ว่า...

การไถพรวนแบบสมัยใหม่ หรือ Conventional tillage (การไถพรวนโดยใช้ไถคราดแบบใบมีดหรือไถจาน ซึ่งทำให้ชั้นผิวดินและชั้นใต้ผิวดินถูกรบกวน) ทำให้เกิดช่องอากาศขนาดใหญ่ซึ่งจะเต็มไปด้วยออกซิเจน เป็นผลให้จุลินทรีย์ในดินเปลี่ยนคาร์บอนในดินให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂)

Conventionally tilled soils have more air pockets, which is where CO2 is generated. Cooper et al. (2021), Author provided source: theconversation.com

เมื่อเปรียบเทียบดินในพื้นที่ที่มีการไถพรวนกับพื้นที่ที่ใช้วิธีไม่ไถพรวน ด้วยการเอ็กซ์เรย์พื้นที่ที่ไม่ได้ไถพรวนมีช่องอากาศที่น้อยกว่าและมีขนาดเล็กกว่า ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมพื้นที่เหล่านั้นจึงปล่อย CO₂ น้อยกว่า ส่วนใหญ่ช่องอากาศเกิดจากไส้เดือนดินและรากพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่ไม่มีเครื่องมือไถพรวนหรืออุปกรณ์อื่น ๆ มารบกวนดิน

เมื่อไม่มีออกซิเจนที่มากเกินไป คาร์บอนที่เกิดจากการย่อยสลายของพีชก็สามารถถูกกักเก็บไว้ใต้ดินได้ จากการศึกษานี้พิสูจน์ได้ว่าดินเก็บคาร์บอนได้มากขึ้นตามกาลเวลาเมื่อดินไม่ถูกไถพรวน

การทำไร่ไม่ไถพรวนเป็นหนึ่งในวิธีการเกษตรที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนจากการเกษตรได้ เนื่องจากดินไม่ถูกกวน ทำให้คาร์บอนที่สะสมอยู่ในดินไม่ถูกปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศ และในระยะยาวยังช่วยให้ดินสามารถเก็บคาร์บอนไว้ได้มากขึ้น (carbon sequestration) เป็นการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Community Ecology Institute. (2022). Climate Victory Gardens. [online] Available at: https://www.communityecologyinstitute.org/climate-victory-gardens.html [Accessed 16 Sep. 2024].

Cooper, H.V., Mooney, S. and Sjogersten, S. (2021). Farming without disturbing soil could cut agriculture’s climate impact by 30% – new research. [online] The Conversation. Available at: https://theconversation.com/farming-without-disturbing-soil-could-cut-agricultures-climate-impact-by-30-new-research-157153.

Mahdi Al-Kaisi (2001). Impact of Tillage and Crop Rotation Systems on Soil Carbon Sequestration.

Office of Science (2023). DOE Explains...the Carbon Cycle. [online] Energy.gov. Available at: https://www.energy.gov/science/doe-explainsthe-carbon-cycle#:~:text=Plants%20absorb%20carbon%20dioxide%20during.

Related posts
12 PERMACULTURE PRINCIPLES
September 21, 2024

หลักการของเพอร์มาคัลเจอร์ เป็นหลักที่อิงจากจริยธรรมของเพอร์มาคัลเจอร์ พูดง่ายๆ คือ จริยธรรมเป็นเหมือนกฎหลักๆ ส่วนหลักการเป็นเหมือนข้อแนะนำว่าเราจะสามารถทำตามกฎนั้นได้ดีได้อย่างไรเพราะฉะนั้น หลักการเหล่านี้ เป็นเพียงข้อแนะนำ ในการออกแบบตามหลัก permaculture แต่สิ่งที่เราจะต้องทำจริงๆ นั้น ขึ้นอยู่กับเรา Holmgren ได้จัดสรรหลักการให้เห็นง่ายๆ ออกมา 12 หลักการ

การเกษตรแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี
October 22, 2024

การเกษตรแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี คือ การเพาะปลูกที่ไม่พึ่งพาปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ในการบำรุงดินหรือพืช แต่จะเน้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือวิธีการทางธรรมชาติในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและส่งเสริมการเติบโตของพืช ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการปนเปื้อนของสารเคมีในดินและน้ำ และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพa