ถั่วถือเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือก ที่สำคัญสำหรับผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เช่น ผู้ที่ทานมังสวิรัติหรือวีแกน เนื่องจากถั่วมีปริมาณโปรตีนสูงและยังมีสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ และไขมันดีบางชนิด
สารต้านอนุมูลอิสระ คือสารที่ช่วยป้องกันหรือชะลอความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ (free radicals) ในร่างกาย อนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียรซึ่งสามารถทำลายเซลล์และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง และการเสื่อมสภาพของเซลล์ตามอายุ
อนุมูลอิสระเกิดขึ้นตามธรรมชาติในร่างกายจากกระบวนการเมตาบอลิซึมและปัจจัยภายนอก เช่น มลพิษ สารเคมีจากสิ่งแวดล้อม รังสี UV และการสูบบุหรี่ อนุมูลอิสระมีลักษณะไม่เสถียรเพราะขาดอิเล็กตรอน และเมื่อเกิดขึ้นในร่างกายจะพยายามแย่งอิเล็กตรอนจากโมเลกุลอื่นๆ ส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ถูกทำลาย ซึ่งนำไปสู่การอักเสบและโรคภัยต่างๆ
สารต้านอนุมูลอิสระช่วยยับยั้งการทำลายจากอนุมูลอิสระโดยการ บริจาคอิเล็กตรอน ให้กับอนุมูลอิสระ ทำให้อนุมูลอิสระกลายเป็นโมเลกุลที่เสถียรและไม่ทำลายเซลล์ในร่างกาย นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระยังช่วยซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้
ตามข้อมูลของ USDA สารต้านอนุมูลอิสระช่วยกำจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ซึ่งอนุมูลอิสระเหล่านี้สามารถเคลื่อนที่อย่างอิสระและทำลายเซลล์จนก่อให้เกิดโรคร้ายแรงได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายคนใช้สารต้านอนุมูลอิสระในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองและโรคความเสื่อมของระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์และพาร์กินสัน นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการรักษาอาการบาดเจ็บของสมอง และอาจช่วยชะลอหรือป้องกันการพัฒนาของโรคมะเร็งได้อีกด้วย
สารต้านอนุมูลอิสระสามารถพบได้ในอาหารหลายประเภท เช่น:
จากการศึกษาใน “The Total Antioxidant Content of More than 3100 Foods, Beverages, Spices, Herbs and Supplements Used Worldwide.” พบว่าอาหารจากพืช เช่น ผลไม้ ถั่ว เบอร์รี่ และสมุนไพร มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าอาหารจากสัตว์หลายเท่า ระดับสารต้านอนุมูลอิสระในอาหารแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับสภาพการปลูก การแปรรูป และการเก็บรักษา แม้เครื่องเทศและสมุนไพรจะบริโภคในปริมาณน้อย แต่เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ นอกจากนี้ สมุนไพรในยาแผนโบราณ เช่น เลือดมังกร (Sangre de Grado) และสูตรอายุรเวทก็มีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูง การศึกษายังชี้ให้เห็นว่า แม้สารต้านอนุมูลอิสระมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพ แต่ความสามารถในการดูดซึมและผลกระทบต่อสุขภาพนั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของสารในอาหารแต่ละชนิด ซึ่งทำให้ไม่ใช่อาหารทุกชนิดที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงจะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเท่ากัน
เนื่องจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราในปัจจุบัน ไม่ว่าจะทั้งคนที่อยู่ในเมืองหรือว่านอกเมืองก็ตาม ต่างสามารถสัมผัสกับมลพิษได้เยอะมาก การที่เราดูแลตัวเอง พยายามทานอาหารที่ช่วยสร้างความสมดุลในร่างการเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราควรศึกษาและหมั่นดูอาหารที่เรารับประทาน ให้ถูกหลักและมีประโยชน์เพื่อร่างกายที่แข็งแรง
Carlsen, Monica H, et al. “The Total Antioxidant Content of More than 3100 Foods, Beverages, Spices, Herbs and Supplements Used Worldwide.” Nutrition Journal, vol. 9, no. 1, 22 Jan. 2010, www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2841576/, https://doi.org/10.1186/1475-2891-9-3.
Reilly, Christopher. Top 20 Foods High in Antioxidants.
ถั่วถือเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือก ที่สำคัญสำหรับผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เช่น ผู้ที่ทานมังสวิรัติหรือวีแกน เนื่องจากถั่วมีปริมาณโปรตีนสูงและยังมีสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ และไขมันดีบางชนิด
จากการศึกษาใน “The Total Antioxidant Content of More than 3100 Foods, Beverages, Spices, Herbs and Supplements Used Worldwide.” พบว่าอาหารจากพืช เช่น ผลไม้ ถั่ว เบอร์รี่ และสมุนไพร มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าอาหารจากสัตว์หลายเท่า ระดับสารต้านอนุมูลอิสระในอาหารแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับสภาพการปลูก การแปรรูป และการเก็บรักษา แม้เครื่องเทศและสมุนไพรจะบริโภคในปริมาณน้อย แต่เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ