12 PERMACULTURE PRINCIPLES

September 14, 2024
หลักการของ Permaculture

หลักการของเพอร์มาคัลเจอร์ เป็นหลักที่อิงจากจริยธรรมของเพอร์มาคัลเจอร์ พูดง่ายๆ คือ จริยธรรมเป็นเหมือนกฎหลักๆ ส่วนหลักการเป็นเหมือนข้อแนะนำว่าเราจะสามารถทำตามกฎนั้นได้ดีได้อย่างไร

เพราะฉะนั้น หลักการเหล่านี้ เป็นเพียงข้อแนะนำ ในการออกแบบตามหลัก permaculture แต่สิ่งที่เราจะต้องทำจริงๆ นั้น ขึ้นอยู่กับเรา Holmgren ได้จัดสรรหลักการให้เห็นง่ายๆ ออกมา 12 หลักการ คือ

  1. สำรวจและปรับตัวเข้าหา เริ่มต้นด้วยการสังเกตและทำความเข้าใจกับระบบนิเวศก่อนที่จะเริ่มต้นทำเกษตรกรรม การใช้เวลาสังเกตอย่างละเอียดจะช่วยให้เราสามารถออกแบบและทำเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  2. กักเก็บพลังงาน เก็บและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานหลากหลายชนิดหมุนเวียนอยู่ในระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็นแสงอาทิตย์ น้ำ ลม หรือความร้อนในธรรมชาติ การนำพลังงานเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดการสูญเสียพลังงานเป็นสิ่งสำคัญ
  3. เก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อทำการเกษตร เราคาดหวังว่าจะได้รับผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงเพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่เป็นการแบ่งปันให้กับผู้อื่นด้วย การดูแลรักษาให้เกิดความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ
  4. ใช้อย่างสร้างสรรค์ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวตามผลการประเมิน หากเกิดผลเชิงลบขึ้น อาจเป็นสัญญาณว่าแนวทางที่ใช้ไม่ยั่งยืนและควรมีการปรับปรุง การตอบสนองต่อผลลัพธ์ที่เกินคาดหวังเกินไปก็จำเป็นเช่นกัน เพราะบางครั้งผลที่ดูเหมือนดีอาจส่งผลเสียในระยะยาว เช่น การปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ที่แม้จะให้ผลผลิตมหาศาล แต่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสภาพแวดล้อม
  5. ใช้พลังงานหมุนเวียนและให้ทรัพยากรที่มีทำงาน ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและระมัดระวัง ทรัพยากรที่ไม่มีการทดแทนควรใช้อย่างรอบคอบ และหาทางนำวัสดุเหลือใช้มารีไซเคิลและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  6. ไม่สร้างของเสีย ของที่เราต้องใช้ควรมาจากทรัพยากรในท้องถิ่น วัสดุที่เหลือใช้ควรถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบใหม่ และบูรณาการเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของระบบ
  7. ออกแบบแบบแผนจากใหญ่ไปจนถึงรายละเอียดเล็ก การออกแบบโครงสร้างที่ครอบคลุมเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่น การพิจารณาปัจจัยทางภูมิประเทศ สภาพอากาศ และทิศทางของแสงอาทิตย์ ก่อนจะลงรายละเอียดเรื่องวิธีการปลูกพืชหรือการจัดการพื้นที่
  8. เน้นบูรณาการร่วมกันแทนการคิดแยกแต่ละส่วน การผสมผสานองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกันช่วยให้แต่ละส่วนทำงานประสานกันได้ดียิ่งขึ้น เช่น การสร้างสวนผักรูกุญแจที่มีการผสมผสานปุ๋ยหมักเข้าไปในแปลงผัก
  9. หาทางออกแบบค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ และค่อยๆ ดำเนินการไปทีละน้อย การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปจะช่วยให้ระบบมีความยั่งยืนและปรับตัวได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงจากผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์
  10. ใช้ประโยชน์และให้คุณค่าความหลากหลาย ให้ความสำคัญกับความหลากหลาย ความหลากหลายเป็นรากฐานของความแข็งแรงและเสถียรภาพในระบบ เพราะมันจะเกื้อหนุนกันอย่างธรรมชาติ
  11. ใช้พื้นที่ที่ถูกลืม ตามขอบและทางเชื่อมต่างๆ อย่าลืมพื้นที่ชายขอบที่ยังมีศักยภาพ
  12. ใช้อย่างสร้างสรรค์ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง อย่าลืมปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง เพราะทุกสิ่งในโลกนี้เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การปรับตัวและเรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลงคือกุญแจสู่ความยั่งยืน
Related posts
แรงบันดาลใจจากหนังสือชื่อ “กล้วยแย่แค่ไหน?” และไลฟ์สไตล์ที่อุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส
December 22, 2024

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าสภาพอากาศเลวร้ายลงเรื่อยๆ และเราต้องดำเนินการบางอย่าง หรือต้องเผชิญผลที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ ซึ่งหลายประเทศและบริษัทต่างๆ ไม่ได้ดำเนินการใดๆ มากพอ (หรือไม่ได้ดำเนินการใดๆ เลย) ดังนั้น ฉันจึงถามตัวเองว่า "ฉันทำอะไรได้บ้าง" ฉันไม่สามารถบังคับให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบาย หรือบอกเพื่อนบ้านให้ขึ้นรถสาธารณะเมื่อไม่มีนโยบายใดๆ ได้เลย ฉันสามารถสนับสนุนสิ่งเหล่านั้นและขอให้ผู้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทำตาม ดังนั้น ฉันจึงต้องการมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่ฉันสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพราะมันจะเป็นสิ่งเดียวที่ฉันสามารถทำได้ในตอนนี้ที่จะทำให้ฉันบรรลุเป้าหมายในการใช้ชีวิตที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

Zero waste คืออะไร
December 18, 2024

การใช้ชีวิตแบบ Zero Waste และการนำหลักการ 5Rs มาใช้ในชีวิตประจำวันไม่เพียงแต่ช่วยลดปริมาณขยะและการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง แต่ยังเป็นการสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกปฏิเสธสิ่งที่ไม่จำเป็น การลดสิ่งของที่ไม่ใช้ การใช้สิ่งของซ้ำ การรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ และการคอมโพสขยะอินทรีย์เป็นการกระทำที่เราสามารถเริ่มต้นได้จากตัวเราเอง แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับใหญ่จะต้องใช้เวลา แต่การเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ในชีวิตประจำวันสามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลกใบนี้ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว.